Man on the moon

วันนี้เมื่อปี 54 ปีที่แล้ว (20 กรกฏาคม 1976)

มีกลุ่มมนุษย์ 3 คนได้เดินทางไปทำภารกิจของมนุษยชาติ ที่เคยคิดว่าเป็น ภารกิจที่เป็นไปไม่ได้

“นั่นคือการเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์”

กล่าวคือนี่เป็นความฝันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตกาล

ที่มีร่องรอยอยู่มากมายทั้งในตำนานเทพปกรนัม นวนิยาย การแต่งเพลงที่นิยามถึงความเหงาเชื่อมโยงกับดวงจันทร์ หรือแม้กระทั่งนิทานสอนเด็ก ก็มีความต้องการที่จะไขว่คว้ากันมาเสมอ

ประธานาธิบดีของสหรัฐ ก่อนนั้นคือ

จอห์น เอฟ เคเนดี้ อยู่ระหว่างแข่งขันแสนยานุภาพทางอวกาศกับทางโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน) โดยโซเวียตได้มีการส่งดาวเทียมสปุตนิก1 ขึ้นสู่วงโคจรของโลกได้ก่อนเมื่อปี 1957

ขณะนั้นทั้งโลกเริ่มเข้าใจว่าอเมริกาเป็นผู้แพ้ในการแข่งขันทางอวกาศนี้แน่ๆ

จนประธานาธิบดีเคเนดี้ ในปี 1962

ได้ประกาศให้ชาวอเมริกันว่า

“We choose to go to the moon”

หรือ “เราเลือกที่จะไปดวงจันทร์ ”

ผ่านการกล่าวสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงกันดีในปัจจุบัน และให้คำมั่นว่าจะไปไม่เกินปี 1970

ทำให้การแข่งขันกับสหภาพโซเวียตมีต่อมาอย่างเข้มข้น

แต่ความสำเร็จในการพิชิตดวงจันทร์

กลับมาสำเร็จในยุคของประธานาธิบดี

ริชาร์ด นิกสัน ในอีก 7 ปีถัดมา

ก่อนคำมั่นของเคเนดี้หนึ่งปีเท่านั้น

แม้ว่าก่อนนั้นจะมีการพยายามส่งสัตว์

ไปในห้วงอวกาศแล้วก็ตาม

แต่ความสำเร็จที่แท้จริงคือการที่มนุษย์

ได้เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์เองต่างหาก

แล้วมนุษย์ทั้ง 3 คนนั้นสำคัญอย่างไร

และอยู่ตรงไหนในภารกิจ

ในยาวอวกาศอพอลโล่ 11 นี้

ลองไล่เรียงไปทีละคนครับ


1. นีล ออลเดน อาร์มสตรอง

เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน

ที่ทุกคนจำได้จากสื่อและการสอนมาตั้งแต่สมัยยังเด็กว่าเค้านี่แหละ คือมนุษย์ที่พิชิตดวงจันทร์คนแรก (เหยียบเท้าลงก่อน) และได้พูดอมตะวาจาที่โด่งดังในวินาทีที่ก้าวเท้าลงดวงจันทร์ไว้ว่า

“ Thats one small step for man, one giant leap for mankind. ”

หรือแปลได้ว่า

“นั่นคือก้าวเล็ก ๆ ของคนคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ”

ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับเรา และเป็นคำพูดที่ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอันมาก

2. บัซ อัลดริน

เค้าคือมนุษย์คนที่สองที่เหยียบดวงจันทร์ตามนีล อาร์มสตรองลงไป

เดิมบัซคือเด็กหนุ่มที่เกิดในครอบครัวที่มีพ่อเป็นทหารอากาศ และมีแรงบันดาลใจให้เค้าเรียนจบ ปริญญาตรีเครื่องกล

จากนั้นได้เข้าร่วมกับกองทัพอากาศสหรัฐจนเรียนปริญญาเอก สาขาการบินและอวกาศ หรือพูดให้ชัดคือ เค้าคือคนเดียวที่แบกวุฒิปริญญาเอกไปถึงดวงจันทร์คนแรกเลยก็ว่าได้

เดิมทีแล้วบัซได้ถูกวางไว้ในภารกิจให้เป็นผู้เหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรก

แต่มาเปลี่ยนเป็นนีล อาร์มสตรองในภายหลัง

เนื่องจากเหตุผลว่า บัซคือทหาร

การที่นีล อาร์มสตรองที่เป็นพลเรือนได้เหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรก น่าจะสร้ารงบันดาลใจให้กับคนทั่วไปได้มากกว่า ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้นจนปัจจุบัน แต่เอาตรงๆก็แอบสงสารบัซเหมือนกันนะ

แต่เนื่องด้วยเค้าไม่ได้ถูกวางให้ลงพื้นคนแรก

เค้าเลยไม่ได้เตรียมคำพูดเท่ๆมาอย่างอาร์มสตรอง วินาทีที่เค้าลงที่พื้นดิน เค้าได้พูดว่า

“ Magnificent desolation” หรือ “ความรกร้างที่งดงาม” ที่เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้ผู้สร้างอนิเมชั่น Toy story สร้างตัวการ์ตูน “บัซ ไลท์เยียร์” ที่เราชื่นชอบ และมีคำพูดติดปากว่า

“ To infinity and beyond “

หรือคือ สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นนั่นเอง

จากนี้เราคงดู Toy story ได้สนุกขึ้นมากโขเมื่อรู้ว่าตัวละครนี้มาจากต้นแบบอย่างบัซ อัลดริน

ผู้เสียสละที่แท้จริงในการเหนียบดวงจันทร์

แต่อย่างไรก็ตามก่อนภารกิจอพอลโล่11 นี้

บัซได้ทำภารกิจกับยาน Gemini 12

ในการเดินทางสู่ห้วงอวกาศและลอยคว้างท่ามกลางหมู่ดาวได้ 5 ชั่วโมง นานกว่านักบินอวกาศคนไหนที่ผ่านมา

และเป็นคนแรกของมนุษยชาติที่ “เซลฟี่”

ตัวเองจากอวกาศด้วย เท่ไปอีกกกกก!!

3. ไมเคิล คอลลินส์

นักบินอวกาศและนักบินทดสอบชาวอเมริกัน

คอลลินส์ได้มีภารกิจเป็น “นักบิน”

ให้กับอพอลโล่11 หรือกล่าวคือเค้ามีหน้าที่ที่จะควบคุมยานไปส่งบัซและอาร์มสตรอง

จากวงโคจรของดวงจันทร์

เพื่อให้สองคนนั้นได้ลงพื้นสำเร็จ

ในขณะที่เค้าต้องอยู่บนยาน

หรือกล่าวคือ ถึงแม้ว่าเค้าพาทีมเดินทางกว่า

238000 ไมล์จากโลกไปจนถึงวงโคจรดวงจันทร์แต่เค้าไม่ได้ลงเหยียบดวงจันทร์

(แม้จะห่างกันเพียงแค่ 69ไมล์ ก็ตาม)

ในภารกิจนี้ เค้าน่าสงสารจนพี่กอล์ฟ ฟัคกิ้งฮีโร่

ได้แต่งเพลง “ Michael Collins” และตีความ

ในอีกมุมหนึ่งที่ว่า หากเป็นเขาจะไม่ยอมคอยอยู่ที่บนยาน (ร้องร่วมกับพี่บอย โลโมโซนิค)

แต่จะกระโดดลงพื้นดวงจันทร์

และไม่ยอมแพ้มันง่ายๆแน่

ดังเนื้อความส่วนหนึ่งในเพลงที่ว่า

I wanna fly to the sky

I gonna fly way up so high

Even if I have to give up my life

I'm gonna make it, I'm gonna make it

คอลลินส์คือคนที่ถูกขนานนามว่า

“Loneliness person in the world”

“ เป็นมนุษย์ที่เหงาที่สุดในโลก “

เพราะคอลลินส์อยู่ในยานอวกาศ

ในระหว่างภารกิจของอาร์มสตรอง

ถึง 21 ชั่วโมง

โดยมีช่วงหนึ่งที่ยานอยู่ฝั่งด้านมืดของดวงจันทร์

(Dark side of the moon)

และไม่สามารถติดต่อกับฐานแม่ (Houston,Texas)

หรือมนุษย์คนใดได้เลยในระหว่างนั้น

ดังนั้นบางทีที่ว่าเราเหงานั้น

อาจจะเทียบไม่ได้สักเสี้ยวหนึ่ง

ของคอลลินส์ก็ได้นะครับ55

อย่างไรในปี 2020 ที่ผ่านมามีคนถามเค้าว่า

“อวกาศน่ากลัวไหม?”

คำตอบในมุมของมนุษย์อายุ 90 ปี

ตอบสั้นๆกลับมาว่า

“ ไม่เลย โลกต่างหากที่น่ากลัว”

ลองตีความคำพูดของคอลลินส์

ในแบบฉบับของตัวเองดูนะครับ

อย่างที่เขียนไปข้างต้น

ทุกภารกิจที่จะประสบความสำเร็จได้

ทุกคนมีความสำคัญ

หลายคนอาจจะจำได้แต่ นีล อาร์มสตรอง

และไม่รู้จักบัซและคอลลินส์

หรือเพิ่งเคยได้ยินชื่อด้วยซ้ำ

แต่หากไม่มีบัซก็ไม่มีวิศวกรบนยาน

คอยแก้ปัญหาทางเทคนิคให้

หรือหากไม่มีคอลลินส์ คงไม่มีคนบังคับยานมาจนถึงดวงจันทร์ได้ แถมพากลับได้ปลอดภัยเสียด้วย

ในชีวิตจริงทุกคนอยากเป็นนีล อาร์มสตรองกันทุกคนแหละครับ แต่เมื่อถึงเวลาที่มองเห็นชีวิตชัดขึ้น

ภารกิจจะสำเร็จตามแผนไม่ได้ เพราะแค่นักบินอวกาศ 3 คนนี้หรอกครับ ส่วนตัวผมว่าต้องให้เครดิตมาตั้งแต่แม่บ้านและรปภ ก่อนมาถึงทีมงานหลังบ้านนับร้อยชีวิตเลยทีเดียวครับ ที่ต้องได้เครดิตด้วย

“ เพียงแค่เค้าอยู่ข้างหลังม่าน

ไม่ได้หมายความว่าพวกเค้าไม่สำคัญ “

อย่างไรก็ตาม

ในวันนั้นประธานาธิบดีนิคสันได้สื่อสารสุนทรพจน์

ต่อหน้าสาธารณชนหลังเสร็จสิ้นภารกิจได้อย่างกินใจ

แต่ความเป็นจริงที่น้อยคนจะรู้คือ

ท่านได้ร่างสุนทรพจน์ไว้สองฉบับ

ฉบับแรกคือที่เราได้ยินตามสื่อ คือภารกิจสำเร็จลุล่วง

และอีกฉบับจะใช้ในกรณีที่นักบินไม่สามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัย นั่นคือสิ่งที่ประธานาธิบดีอย่างนิคสันแบกรับอยู่บนบ่า

โชคดีที่วันนั้นเราไม่ได้ยินร่างฉบับหลัง

ขอให้ทุกคนมีความสุขเหมือนเมื่อวันนี้เมื่อ 54 ปีที่แล้ว ที่ทุกคนทั้งโลกคอยเฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ขาวดำ

คอยฟังข่าวใหญ่ของโลกในวันนั้นนะครับ

ขอบคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบ

ขอคารวะจากหัวใจ

Fly me to the moon…


20 July 2023 (54 years later)

ณัฐวุฒิ ธาราวดี

ปล. เนื้อความยาวหน่อย แต่ร้อยเรียงมาจากหนังสือและบทความ ที่เคยอ่านมาตลอดชีวิต

เพราะเรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งที่ทำให้ก้าวเดินมาจนวันนี้ ขอใช้เวลาเรียบเรียงลงในวันนี้เพื่อบันทึกความทรงจำ